ข้อควรรู้ โรคกรดไหลย้อน
เช็ค 6 อาการว่า คุณเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือไม่
สาเหตุของการเกิดของโรคกรดไหลย้อน
- ทำงานเยอะเกินไป เลิกงานดึก ก็จะทานอาหารดึกไปด้วย ส่วนใหญ่ทานแล้วเข้านอนทันที จะทำให้ความดันในช่องท้องมีมากขึ้น ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนเกิดได้ง่ายขึ้น
- ภาวะเครียดเพราะงาน หรือปัญหาต่าง ๆ ส่วนตัว เมื่อเกิดอาการเครียด กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือ หลอดอาหาร จะทำงานได้น้อยลง และมีการหลั่งของกรดมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- ชนิดของอาหารที่รับประทาน ปัจจุบันคนนิยมอาหารจำพวกฟาสท์ฟู้ดมากขึ้น เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ไส้กรอก พิซซ่า และอาการจำพวกทอด และผัดโดยใช้น้ำมัน อาหารเหล่านี้จะย่อยค่อนข้างยาก ทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารช้าลง และใช้เวลานานในการย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืดได้ง่าย และยังทำให้คามดันในช่องท้องมีมากขึ้น
- ชา กาแฟ ชานมไข่มุก ซึ่งเป็นที่นิยมดื่มกันมากในขณะนี้ การทานเป็นประจำจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างหย่อน จึงมีโอกาสในการเกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น
- คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินค่าปกติ (อ้วน) จะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น และคนที่ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้กระเพาะ และลำไส้เคลื่อนตัวได้ดี
- การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด คือ Helicobacter Pylori หรือ ที่คนเป็นกรดไหลย้อนจะรู้กันในนาม H.pylori ซึ่งเชื้อตัวนี้เมื่อติดแล้ว จะเป็นแผลในกระเพาะอาหารง่ายมาก และทำให้มีอัตราการเสี่ยงในการเกิดของมะเร็งกระเพาะอาหาร
ประโยชน์ของน้ำย่อย ที่คน 99% เข้าใจผิด
อาการที่คนเป็นกรดไหลย้อนต้องเจอ (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่เป็น)
- อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้
- อาการคล้าย ๆ มีก้อนจุดอยู่ที่คอ หรือแน่นๆ ที่คอ
- กลืนอาหาร หรือแม้กระทั่งกลืนน้ำลาย ลำบาก เจ็บ หรือ กลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดกับสิ่งแปลกปลอมในลำคอ
- เจ็บคอ แสบคอ แสบปาก แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
- อาการเหมือนมีรสชมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในลำคอ มีเสมหะในลำคอ หรือระะคายคออยู่ตลอดเวลา
- อาการเรอบ่อย คลื่นไส้ เหมือนอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมากลางอก หรือที่ลำคอ
- อาการจุดแน่นบริเวณหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
- อาการมีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุ เป็นต้น
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
- ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือขณะนอน
- ไอ หรือ รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน
- กระแอมไอบ่อย ๆ
- อาการหอบหืด สำหรับคนที่เคยเป็นอยู่ จะมีอาการมากขึ้น
- อาการเจ็บหน้าอก
- อาจมีอาการคล้ายโรคปอดอักเสบ ซึ่งจะเป็น ๆ หาย ๆ
- คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีน้ำมูก และเสมหะไหลลงคอตลอด
- หูอื้อ เป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดหู
- ปวดตึง คอ บ่า ไหล่
ต้นตอการเกิดโรคกรดไหลย้อน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนน้อยลง
ปรับเปลี่ยนการทานอาหาร
- หลังทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก การเอี้ยวตัว หรือ ก้มตัว
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มใด ๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนนอน
- พยายมทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการผัด หรือทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ผลไม้ และอาหารบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ทุเรียน อาหารฟาสท์ฟู๊ด เช่น พิซซ่า ช็อคโกแลต ถั่ว เนย ไข่ (ทานได้เฉพาะไข่ขาว) นม (ทานได้เฉพาะนมขาดมันเนย หรือไร้ไขมัน คือไขมันเป็น 0%) น้ำเต้าหู้ (ทำจากถั่ว จะทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก) หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น
- ทานอาหารในปริมาณที่พอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรทานอาหารจนอิ่ม แน่นท้องมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น ชา กาแฟ (แม้ว่าจะเป็นกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนก็ไม่ควรดื่ม) ชา กาแฟ จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างหย่อน น้ำอัดลม จะทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน
- ไม่ควรนอนหลังทานอาหารทันที ควรนอนหลังทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- เวลานอน ห้ามยกศรีษะสูง โดยไม่ใช้หมอนรองศรีษะให้สูง เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ถ้านอนพื้น หรือหรือนอนฟูก ให้หาแผ่นไม้ขนาดเท่าฟูก รองใต้ฟูก แล้วใช้ไม้ หรืออิฐยกแผ่นไม้ดังกล่าวขึ้น เพื่อการนอนแนวราดชัน จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้ในขณะนอนหลับ
รู้จัก จุลินทรีย์ตัวดี หรือ โปรไบโอติกส์ เพื่อแก้อาการท้องผูกเรื้อรัง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนตัว
- หากมีน้ำหนักมากเกินไป ควรพยายามลดน้ำหนัก เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้มากขึ้นตามไปด้วย
- หลีกเลี่ยงการเบ่ง เวลาท้องผูก เพราะเวลาเบ่งเมื่อขับถ่าย ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มาากขึ้น ควรหาตัวช่วยที่ปลอดภัยเพื่อทำให้ลำไส้ทำงานดี และขับถ่ายได้คล่องขึ้น
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ